กระเบื้องปูพื้นเด้ง โก่งคือ ลักษณะกระเบื้องปูพื้นที่ดันกันกันจนแอ่นตัว หลุดออกมาเป็นแผ่นหลายๆชิ้น หรือดันหลุดเด้งออกมาซึ่งปัจจัย สาเหตุที่ทำให้เกิดเช่น

ปูกระเบื้องแบบไม่เว้นร่องยาแนว

ปูกระเบื้องแบบไม่เว้นร่องยาแนว หรือปูชิดมากเกินไป เมื่ออุณหภูมิเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ร้อนหรือเย็นจัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากใช้กระเบื้องที่ไม่ได้มาตรฐาน จะเกิดความเสียหายได้ง่ายและรวดเร็วกว่ากระเบื้องที่ได้มาตรฐาน สืบเนื่องมาจากการหดขยายตัวของกระเบื้องหากปูกระเบื้องชิดเกินไป หรือปูชนแผ่นโดยไม่มีการยาแนว เมื่อกระเบื้องขยายตัว จะดันกันจนโก่งตัวหรือระเบิดแตกได้นั่นเอง

พื้นเก่า ปูนเสื่อมสภาพ

สิ่งแรกที่ควรทำคือให้ผู้เชี่ยวชาญการตรวจสอบสภาพโครงสร้าง เพื่อแก้ปัญหาหลัก การซ่อมกระเบื้องในบริเวณดังกล่าวจะไม่ได้ช่วยอะไร แถมการปูกระเบื้องใหม่ทับ จะกลายการปกปิดรอยแตกร้าวของโครงสร้างอีกด้วย รู้ตัวอีกครั้งก็สายเกินจะแก้ไขด้วยวิธีซ่อมแซมเบื้องต้นได้ ซึ่งการตรวจสอบความเสื่อมสภาพที่ผิดปกติของโครงสร้างเบื้องต้นด้วยตัวเองนั้น

ปัญหาที่มาจากการปูที่ไม่ได้มาตรฐาน

การปูที่ไม่ได้มาตรฐานคือ ใช้ปูนทรายที่มีส่วนผสมไม่เหมาะสม ปูนทรายจึงยึดเกาะกระเบื้องได้ไม่ดี ถ้าเป็นไปได้ ควรใช้ปูกาวสำหรับปูกระเบื้องที่มีแรงยึดเกาะที่ดีกว่า และการปูแบบซาลาเปา หรือการปูนกาวน้อยหยอดเป็นก้อนที่หลังแผ่นกระเบื้อง แล้วนำกระเบื้องไปวางและกดที่พื้นหรือผนัง เนื้อปูนจึงไม่กระจายตัวให้สม่ำเสมอ สนิททั่วทั้งแผ่น เมื่อเวลาผ่านไปจะหลุดร่อนออกมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระเบื้องที่พื้นซึ่งถูกการกดทับเมื่อเราเดินเหยียบบ่อยๆ หรือวางทับด้วยเฟอร์นิเจอร์

น้ำซึม น้ำขัง เข้าตามร่องกระเบื้อง

เป็นสาเหตุทำให้เกิดความชื้นใต้กระเบื้อง เมื่อโดนความร้อนสูงๆ เกิดไอน้ำอยู่ด้านใต้ก็จะดันกระเบื้องขึ้น ส่วนมากจะเกิดบริเวณพื้นชั้น 1 ของอาคารหรือภายนอกอาคารที่โดนแดด

วิธีการแก้ไขปัญหาพื้นกระเบื้อง เด้ง โก่ง

  1. ใช้ปูนกาวที่แรงยึดเหนี่ยวสูงกว่าปูนทั่วไป และเว้นระยะร่องให้มากกว่าเดิมโดยเฉพาะส่วนที่พื้นชนกับผนัง
  2. แก้ไขปัญหาจากการแตกร้าวด้วยซีเมนต์ทากันซึม ชนิดยืดหยุ่นซึ่งสามารถต้านทานต่อรอยร้าวได้ดี ใช้ได้ทั้งภายนอกและภายใน
  3. เลาะกระเบื้องออกทั้งหมด และปูกระเบื้องใหม่ที่ได้มาตรฐาน แต่หากไม่อยากสิ้นเปลืองงบประมาณก็สามารถรื้อเฉพาะแผ่นได้ เว้นร่องยาแนวที่ได้ระยะตามกำหนด เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหากระเบื้องระเบิด
  4. ควรใช้อุปกรณ์เว้นร่องยาแนว เพื่อช่วยคุมความกว้างของร่องยาแนวให้สม่ำเสมอเท่ากันในทุก ๆ ด้าน
  5. ควรเลือกกระเบื้องที่ถูกต้องตามมาตรฐานทุกขั้นตอน

การดูแลรักษา หรือ ซ่อมแซมปัญหากระเบื้องระเบิด ไม่ใชเรื่องยาก เพราะนั้นควรเลือกกระเบื้องที่มีความแข็งแรง ทนทาน และได้มาตรฐาน โดยเฉพาะขั้นตอนการปูกระเบื้องจะต้องเป็นช่างที่มีความรู้เฉพาะทาง หรือเข้าใจในเรื่องนี้ เพื่อลดปัญหากระเบื้องระเบิดเสียหายภายหลังได้