ปัจจุบัน ที่พักอาศัยในเขตร้อนอย่างเมืองไทย การลดปัญหาบ้านร้อนมีความสำคัญและถูกพูดถึงอยู่เสมอ ในการรรโนเวทบ้านเพื่อลดปัญหาบ้านร้อน อันดับแรกควรเน้นที่หลังคาบ้านเพราะเป็นส่วนที่โดนแดดโดยตรงมากที่สุด จากนั้นค่อยพิจารณาการลดความร้อนที่ผนัง ประตู หน้าต่าง และพื้นที่บริเวณหน้าบ้านตามความเหมาะสม

แต่บ้านเก่าๆที่สร้างมานาน มักไม่ได้มีวัสดุเพื่อป้องกันความร้อนเลย แต่ที่จริงแล้วบ้านเก่าก็สามารถปรับปรุงให้ระบายความร้อนและเย็นได้ไม่แพ้กับบ้านใหม่ๆ ได้เช่นกัน ด้วยวิธีง่ายๆดังนี้

ทำหลังคาให้เย็นลง

หลังคาเป็นเป็นส่วนหนึ่งที่จะเจอกับแสงแดดแบบเต็มๆการวีวัสดุที่ช่วยป้องกันแสงแดดที่จะโดนตัวบ้านได้เท่าไหร่ อุณภูมิภายในบ้านก็มีโอกาสลดลงมากขึ้นเท่านั้น ซึ่งมีวิธีแก้ไขได้แก่

– รีโนเวทหลังคาใหม่

หากมีงบประมาณมากๆ อาจจะใช้วิธีการรีโนทเวทหลังคาใหม่ แล้วมีวัสดุกันหลังคาอีกชั้นแต่ก็ต้องคำนึงเรื่องโครงสร้างกับข้อกฎหมายให้เหมาะสมด้วย จึงควรปรึกษาสถาปนิกและวิศวกรเสียก่อน แล้วเสริมวัสดุกันร้อนต่างๆ และทาสีระบายความร้อน สำหรับบ้านหลังไหนที่มีปัญหาน้ำรั่วซึม อยู่แล้วอาจเลือกใช้วิธีนี้ได้เลย

– เสริมวัสดุกันร้อนสำหรับเจ้าของบ้านที่มีงบประมาณไม่มาก ใช้วิธีเสริมวัสดุกันร้อนใต้หลังคาอย่างเดียวก็ได้ โดยปัจจุบันมีวัสดุหลายรูปแบบที่ช่วยป้องกันความร้อนบริเวณหลังคาได้ เช่นฉนวนกันความร้อน ฉนวนป้องกันและกักเก็บความเย็น โฟมชนิดพิเศษที่กันความร้อน  ฯลฯ

– ติดตั้งหัวฉีดน้ำบนหลังคา

อีกหนึ่งวิธีที่หลายบ้านเลือกใช้เพื่อลดความร้อน แต่ถ้าเจา้ของบ้านท่านใดไม่มีทักษะช่าง ไม่ชำนาญ ควรคำนึงถึงความปลอดภัย และอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้น

เจ้าของบ้านควรปรึกษา ผู้เชี่ยวชาญ ที่เกี่ยวข้องกับการรีโนทเวท ซ่อมแซม เพื่อให้ผู้ที่มีความชำนาญวิเคราะห์เบื้องต้น งบประมาณจะได้ไม่บานปลาย และสามารถเสร็จลุล่วงตามที่ต้องการ

เจ้าของบ้านควรปรึกษา ผู้เชี่ยวชาญ ที่เกี่ยวข้องกับการรีโนทเวท ซ่อมแซม เพื่อให้ผู้ที่มีความชำนาญวิเคราะห์เบื้องต้น งบประมาณจะได้ไม่บานปลาย และสามารถเสร็จลุล่วงตามที่ต้องการ

ทำผนังบ้านให้เย็น

ถ้าเป็นบ้านใหม่ สามารถทำวิธีนี้ได้ไม่ยุ่งยาก โดยติดตั้งผนังกันความร้อนชนิดต่างๆ ตั้งแต่ตอนก่อสร้างบ้านหรือตอนตั้งตั้งผนังของตัวบ้านได้ แต่ถ้าหากเป็นบ้านเก่า ทาวน์เฮ้าส์อาจจะไม่ต้องทำอะไร เพราะผนังตัวบ้านด้านซ้ายและขวาติดกับเพื่อนบ้าน ยกเว้นบ้านหัวมุมอาจจะมีผนังฝั่งหนึ่งที่เจอกับแสงแดดบ้าง

ส่วนบ้านเดี่ยวที่เป็นบ้านเก่า ให้ใช้วิธีปลูกต้นไม้ ซึ้งขึ้นอยู่กับงบประมาณว่าปลุกได้มากขนาดไหน แบบใด หรืออาจใช้วิธีติดแผงระแนงกันแดดไว้รอบบ้าน เพื่อลดกันเข้ามาของแสงแดด

เลือกติดกระจกตัดแสงหรือติดฟิล์มกันแดดเพื่อลดความร้อน

สำหรับใครที่มีงบประมาณ และมีแผนจะเปลี่ยนกระจก ควรเลือกกระจกตัดแสงกันความร้อนมาใช้ทดแทน เนื่องจากกระจกเป็นช่องทางรับความร้อนเข้าสู่ตัวบ้านโดยตรง หรือหากไม่ต้องการเปลี่ยนกระจกก็สามารถใช้วิธีติดฟิล์มกันร้อนได้เพื่อลดแสงและความร้อนเข้าสู่ตัวบ้าน ในปัจจุบันฟิล์มมีคุณภาพสามารถลดความร้อนได้เป็นอย่างดีทีเดียว

ลดความร้อนจากพื้นบริเวณรอบบ้าน

บ้านในปัจจุบันมักมีพื้นที่จอดรถรอบบ้านเป็นพื้นที่คอนกรีต หากเป็นจุดที่โดนแดดประจำ พื้นอคนกรีตจะสะสมความร้อนไว้มาก เราสามารถเปลี่ยนมาใช้วัสดุอื่นที่อมความร้อนน้อยลงได้ เช่น หญ้าเทียม กระเบื้องดินเผา บล็อคหญ้า บล็อคปูพื้นรุ่นพิเศษที่ลดความร้อนบริเวณผิวหน้า หรือใช้วิธีปลูกหญิาสลับกับคอนกรีต หากมีพื้นที่พอก็ทำหลังคาโครงสร้างกันร้อนปิดพื้นที่อีกที ก็ช่วยสามารถป้องกันแสงแดดกระทบพื้นคอนกรีตได้มากขึ้น

ทั้งนี้ การลดปัญหาบ้านร้อน ไม่ว่าจะเป็นตึกแถว ทาวน์โฮม หรือบ้านเดี่ยวก็ตาม นอกจากจะป้องกันไม่ให้ความร้อนเข้าบ้านแล้ว ยังต้องหาวิธีระบายความร้อนออกไปจากบ้านด้วย โดยหมั่นเปิดหน้าต่างให้อากาศถ่ายเทเข้าออก และไม่วางเฟอร์นิเจอร์ขวางทางลม สำหรับบ้านที่ต้องปิดประตูหน้าต่างไว้ทั้งวัน อาจเปลี่ยนหน้าต่างชั้นล่างบางชุดเป็นบานเกล็ดพร้อมมุ้งลวดเพื่อให้ระบายอากาศได้ รวมถึงติดตั้งพัดลมระบายอากาศ (พัดลมดูดอากาศ) ที่ผนังหรือฝ้าเพดานชั้นบน สำหรับทาวน์โฮมที่กั้นโถงหลังคาแยกกันกับเพื่อนบ้าน สามารถเลือกติดตั้งกลไกที่ช่วยให้อากาศและความร้อนในบ้านระบายออกได้โดยอัตโนมัติ แม้จะปิดบ้านไว้ทั้งวัน