Home
บริการต่างๆของเรา
สำหรับลูกค้า
โปรโมชั่นและผลงานต่างๆ
ขั้นตอนการใช้แอปพลิเคชั่นสำหรับงานต่างๆ
เกร็ดความรู้ในแวดวงการก่อสร้าง
สำหรับช่าง
วิธีการสมัครแอปพลิเคชั่นและคำแนะนำต่างๆ
เกล็ดความรู้และข่าวสารสำหรับพันธมิตรของเรา
Download Application CLM
Q&A
Cealect Estate
BOQ
หรือ
Bill of Quantities
คือ เอกสารแสดงราคากลางในการก่อสร้างที่ใช้ในขั้นตอนการหาผู้รับเหมาก่อนที่จะทำการก่อสร้าง รายละเอียดด้านในจะเป็นรายการที่แสดงปริมาณงานและราคาวัสดุก่อสร้างที่ถอดมาจากแบบก่อสร้างทั้งหมด ทั้งจากแบบสถาปัตยกรรม แบบวิศวกรรมโครงสร้าง และแบบวิศวกรรมงานระบบต่างๆ ซึ่งจะแยกเป็นหมวดหมู่งานอย่างละเอียด เช่น งานเตรียมพื้นที่ งานโครงสร้าง
(
ฐานราก คาน เสา พื้น และโครงหลังคา
)
งานมุงหลังคา งานฝ้าเพดาน งานผนัง งานพื้น งานทาสี งานระบบไฟฟ้า งานประปาและสุขาภิบาล เป็นต้น โดยจะแจกแจงเป็นรายการต่างๆ ในแต่ละหมวด พร้อมทั้งมีการระบุประเภท ขนาด ราคาของวัสดุ ปริมาณหรือพื้นที่ที่ใช้ รวมถึงค่าแรงในแต่ละรายการเอาไว้ด้วย โดยปกติสถาปนิกจะเป็นผู้จัดทำให้ตามที่ระบุไว้ในสัญญาว่าจ้าง แต่ถ้าหากไม่มีระบุไว้ในสัญญา เราควรจัดหาผู้เชี่ยวชาญให้เป็นผู้จัดทำโดยให้สถาปนิกจะเป็นผู้ช่วยตรวจสอบข้อมูลและความถูกต้องอีกที
ตัวอย่างบางส่วนของ BOQ
เมื่อเรามีแบบก่อสร้างและทำการยื่นขออนุญาตก่อสร้างเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ระหว่างนี้เราสามารถหาผู้รับเหมามาก่อสร้างไปด้วยได้ โดยต้องเตรียม
BOQ
เอาไว้ เพื่อใช้ในการประกวดราคาหาผู้รับเหมา ซึ่งผู้รับเหมาที่เข้าร่วมประกวดราคาจะต้องผ่านเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกในด้านต่างๆ ในขั้นต้นตามที่เรากำหนดไว้แล้ว
BOQ
จะเป็นเอกสารสำคัญที่สถาปนิกและเจ้าของโครงการใช้เปรียบเทียบราคาก่อสร้างจากผู้รับเหมาแต่ละรายที่เข้าร่วมการประกวดราคา โดยผู้รับเหมาจะได้รับ
Blank BOQ
ซึ่งเป็นเอกสารชุดเดียวกับ
BOQ
เพียงแต่จะเว้นว่างในช่องราคาค่าวัสดุ ค่าแรง ค่าดำเนินการ กำไร และภาษีไว้ให้กรอก และเมื่อได้ผู้รับเหมามาสร้างบ้านให้เราแล้ว เอกสารตัวนี้จะเป็นตัวควบคุมและตรวจสอบงบประมาณในการก่อสร้าง เพราะสามารถเปลี่ยนแปลงปริมาณหรือชนิดวัสดุก่อสร้างที่ระบุเอาไว้ได้ นอกจากนี้หน้าที่สำคัญของ
BOQ
ยังช่วยคุมการวางแผนซื้อและจัดส่งสินค้าให้ทันตามกำหนดการก่อสร้างอีกด้วย
หมวดหมู่ของ
BOQ
โดยปกติแล้ว
BoQ
มีหมวดหมู่ที่คล้ายคลึงกัน แต่รายละเอียดจะแตกต่างกันไปตามการก่อสร้างของตึกนั้นๆ ซึ่งจะประกอบไปด้วย
– หมวดการเตรียมงาน แสดงค่าใช้จ่ายในการเตรียมการก่อสร้าง เช่นการปรับพื้นที่หน้าดิน หรือการรื้ออาคารเก่า
– หมวดงานโครงสร้าง แสดงรายละเอียดและปริมาณงานโครงสร้างทั้งหมด เช่น คอนกรีตโครงสร้าง คอนกรีตหยาบ และไม้แบบ
– หมวดงานสถาปัตยกรรม
ประกอบไปด้วย งานหลังคา งานพื้น ผนัง ประตู และหน้าต่าง รวมไปถึงงานทาสี เช่น กระเบื้องหลังคา พื้นผิวซีเมนต์ ผนังคอนกรีต งานตกแต่งบันได
– หมวดงานระบบ ประกอบไปด้วย งานประปาและสุขาภิบาล งานไฟฟ้า และงานเดินท่ออากาศ
– หมวดงานอื่นๆ
(
ถ้ามี
)
เพื่อให้ครบถ้วนตามรูปแบบและรายการ
ใครเป็นผู้จัดทำ
แบ่งได้เป็นสองแบบดังนี้ แบบแรกเจ้าของอาคารเป็นผู้ยื่นเอกสาร
BoQ
เอง ซึ่งอาจจะให้สถาปนิกทำให้
(
แล้วแต่ข้อตกลงร่วมกัน
) BoQ
เป็นราคากลางให้เจ้าของอาคารเปรียบเทียบกับราคาของผู้รับเหมาแต่ละเจ้า ว่าต่างกันมากน้อยแค่ไหน ในบางครั้งถ้าผู้รับเหมาเสนอราคา
BoQ
ต่ำเกินไป ก็มีโอกาสที่ผู้รับเหมาจะทิ้งงานค่อนข้างสูง หรือถ้าผู้รับเหมาเสนอราคามาสูงเกินไป เจ้าของก็สามารถต่อรองราคาเพิ่มเติมเพื่อให้ได้ราคาก่อสร้างที่พึงพอใจกันกับทั้งสองฝ่ายได้ หรืออีกแบบหนึ่งคือกรณีที่ผู้รับเหมาเป็นผู้ทำเอกสาร
BoQ
เพื่อระบุค่าใช้จ่ายและใช้เป็นเอกสารแนบท้ายสัญญาในการก่อสร้างกับเจ้าของอาคาร การทำเช่นนี้จะช่วยลดความขัดแย้งระหว่างผู้รับเหมาและเจ้าของระหว่างการก่อสร้าง ในกรณีที่มีการเพิ่มหรือลดวัสดุนอกเหนือจากในแบบก่อสร้าง
จะเห็นได้ว่า
BoQ
เป็นตัวช่วยที่สำคัญสำหรับเจ้าของอาคารและผู้รับเหมา ในการหาราคาที่เหมาะสมก่อนการเซ็นสัญญาก่อสร้าง และการควบคุมงานให้เสร็จสมบูรณ์พร้อมทั้งตรงเวลานั่นเอง
ขอขอบคุณบทความจาก :
https://www.scgbuildingmaterials.com