เป็นที่รู้กันอย่างดีว่าประเทศไทยถูกต้อนรับ ด้วยฝุ่น PM2.5 มานานหลายฤดูกาลกระทั่งล่าสุดที่สถานการณ์รายวันในกรุงเทพฯ ย่ำแย่ลงเรื่อยๆ การดูแลตัวเองของทุกคนเริ่มถึงคำว่าจำเป็นแล้ว เครื่องฟอกอากาศจึงเป็นอุปกรณ์หนึ่งที่สำคัญสำหรับบ้าน แต่ในท้องตลาดนั้นก็มีเครื่องฟอกอากาศหลายยี่ห้อ และหลายรุ่น วันนี้ CEALECT นำไปพบกับเกร็ดความรู้ในการเลือกเครื่องฟอกอากาศ ว่าควรเลือกซื้ออย่างไรให้ถูกต้อง และหลักเกณฑ์ในใจคร่าวๆ ว่า ควรจะดูอะไรบ้างก่อนตัดสินใจซื้อสักเครื่องให้ตรงกับความต้องการใช้งานจริงๆ

ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับเจ้าฝุ่น PM2.5 กันก่อนนะครับ

ฝุ่น PM 2.5 คืออะไร?

คือฝุ่นละอองในอากาศที่มีขนาดอนุภาคเล็กมากๆ (ขนาดเล็กกว่า2.5ไมครอน หรือไมโครเมตร)(PM ย่อมาจาก Particulate Matters)ด้วยขนาดที่เล็กมากๆ เราจึงมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า แต่ถ้าฝุ่นนี้มีปริมาณสูงมากๆ ในอากาศ จะดูคล้ายกับมีหมอกหรือควันสาเหตุส่วนใหญ่มาจากการเผาไหม้จากท่อไอเสียของเครื่องยนต์ ควันบุหรี่ การเผาขยะ เผาหญ้า เผาเชื้อเพลิงที่ใช้ในโรงงาน เป็นต้นฝุ่น PM 2.5นี้ยังสามารถรวมตัวกับสารมลพิษ เช่นสารไฮโดรคาร์บอน และโลหะหนักและด้วยขนาดที่เล็กมากจึงสามารถลอดผ่านการกรองของขนจมูก ไปยังหลอดลม และลงลึกจนถึงถุงลมปอดและซึมเข้าสู่กระแสเลือด และทำให้เกิดผลเสียต่อร่างกาย

ฝุ่น PM 2.5 มีผลเสียต่อร่างกายอย่างไรบ้าง?

ในวันที่อากาศไม่ดี มีค่าฝุ่นมลพิษสูง หลายคนคงรู้สึกแสบตา แสบจมูก เจ็บคอระบบที่มีผลกระทบมาก คือระบบทางเดินหายใจ เมื่อหายใจเอาฝุ่น PM2.5เข้าไป จะรู้สึกแสบจมูก ไม่สบาย ไอและมีเสมหะได้ ในคนไข้ที่มีโรคประจำตัว เช่นโรคภูมิแพ้,โรคปอด (เช่น หอบหืด, ถุงลมโป่งพอง) ต้องระวังสุขภาพเป็นพิเศษ เนื่องจากฝุ่นนี้จะทำให้โรคกำเริบได้ง่ายในระยะยาวมีผลทำให้เกิดโรคมะเร็งปอดและ โรคระบบหัวใจและหลอดเลือดได้นอกจากนี้ยังทำลายผิวของเราได้ด้วยผิวหนังเป็นอวัยวะที่ห่อหุ้มร่างกาย จึงหลีกเลี่ยงที่จะเผชิญฝุ่นมลพิษได้ยาก

วิธีเลือกเครื่องฟอก อากาศที่ดีและมีประสิทธิภาพมาใช้งานในบ้าน มีหลักในการพิจารณาง่ายๆ ดังนี้

1. ความละเอียดของฟิลเตอร์ หรือระบบกรองใส้กรองอากาศนั้นเอง(HEPA/EPA)

หัวใจสำคัญที่สุดของเครื่องฟอกอากาศทุกเครื่อง คือ ไส้กรองอากาศ โดยระบบการทำงานของเครื่องฟอกอากาศเกือบทั้งหมด  ฟอกอากาศด้วยการนำอากาศเสียวิ่งผ่านไส้กรองเพื่อให้ได้อากาศดีออกมา โดยมาตรฐานโลกของไส้กรองอากาศนั้นมีชื่อเรียกกันว่า HEPA (High Efficiency Particulate Air) ชื่อมาตรฐานของฟิลเตอร์เครื่องฟอกอากาศที่ใช้ในตลาดตอนนี้ 90% โดยลักษณะจะเป็นแผงกระดาษที่มีเนื้อเป็นเส้นใยไฟเบอร์ทอความหนาระดับหนึ่งวางสลับฟันปลากันไปมา เพื่ออากาศสามารถผ่านได้โดยที่ดักฝุ่นเอาไว้ให้ติดกับเนื้อฟิลเตอร์ 

หรือระบบกรองอากาศที่ใช้การปล่อยประจุลบออกมาจับฝุ่นละอองหรืออนุภาคขนาดเล็กที่เป็นประจุบวกให้ตกลงสู่พื้น ไม่ฟุ้งกระจายอยู่ในอากาศ<ดังนั้นให้พิจารณาคุณสมบัติของระบบกรองแบบใดที่ตอบโจทย์และตรงกับความต้องการของเรา รวมถึงฟังก์ชันเสริมต่างๆ ว่ามีความจำเป็นมากน้อยเพียงใด เช่น การแจ้งเตือนเมื่อถึงเวลาเปลี่ยนไส้กรอง หรือตรวจสอบการทำงานและสั่งงานผ่านแอพพิเคชันได้ เพราะสิ่งที่กล่าวมานี้มีผลทำให้เครื่องฟอกอากาศมีราคาแตกต่างกันพอสมควร

ภาพจาก wikipedia

2. ขนาดพื้นที่ห้องและ ปริมาณอากาศ

เราต้องดูก่อนว่า ห้องที่เราจะไปวางเครื่องฟอกอากาศนี้มีขนาดกี่ตารางเมตร เพราะกำลังการทำงานของเครื่องฟอกอากาศแต่ละรุ่นถูกออกแบบตามขนาดพื้นที่ใช้งานจำกัด เหมือนกับเครื่องปรับอากาศ ห้องใหญ่ก็ต้องใช้เครื่องที่มีบีทียูสูงๆ แน่นอนว่าเรื่องนี้มีผลกับราคาด้วย เช่น ในรุ่นเดียวกันเครื่องสำหรับพื้นที่ 22 ตารางเมตร ก็ย่อมราคาถูกกว่าที่ใช้กับพื้นที่ 42 ตารางเมตร และควรเลือกเครื่องฟอกอากาศที่ครอบคลุมพื้นที่ได้มากกว่าพื้นที่ห้องที่เราใช้งานจริง จะได้ไม่ต้องเสียเงินเปล่าโดยใช่เหตุ

3. ราคาของแผ่นกรองอากาศ

เรามักจะดูที่ราคาของเครื่องกรองอากาศก่อน แต่อีกปัจจัยที่ต้องนำมาคำนวณคือ แล้วราคาของแผ่นกรองที่ต้องใช้กับรุ่นนั้นๆ ราคาเท่าไร และต้องเปลี่ยนถี่แค่ไหน ส่วนใหญ่มักให้เปลี่ยนที่ทุกๆ 6 – 12 เดือน ซึ่งแผ่นกรองต่างประเภท ต่างความหนา ก็มีอายุการใช้งานไม่เท่ากัน บางครั้งเครื่องกรองราคาไม่แพง แต่หากแผ่นกรองเป็นแบบบางๆ ที่ต้องเปลี่ยนบ่อยๆ แถมยังราคาแพง นั่นอาจหมายถึงค่าใช้จ่ายที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต

4. ค่า Airflow หรือ Air Volume

Airflow หรือค่าความเร็วลมจากปริมาณของอากาศที่ถูกดูดและปล่อยอากาศบริสุทธิ์ออกมาจากเครื่องฟอกอากาศ หากตัวเลขค่า Airflow ยิ่งมาก ก็หมายความว่า เครื่องฟอกอากาศรุ่นนั้นมีประสิทธิภาพในการฟอกอากาศได้อย่างรวดเร็ว ช่วยให้เราสูดอากาศบริสุทธิ์ได้เร็วยิ่งขึ้น โดยเราสามารถดูค่า Airflow ได้จากข้อมูลพื้นฐานของตัวเครื่อง ดังนั้นถ้าต้องใช้เครื่องฟอกอากาศกับห้องใหญ่ และอยากให้ฟอกอากาศได้เร็วๆ ควรพิจารณาค่านี้เป็นกรณีพิเศษ

5. ระบบการทำงานต่างๆ

ระบบฆ่าเชื้อโรค

ในการแข่งขันแบบเสรีทำให้หลายยี่ห้อก็พยายามพัฒนาฟังก์ชั่นที่เป็นลิขสิทธิ์หรือฟังก์ชั่นเสริมขึ้นมา มีการนำ Ion (ไอ-ออน) มาช่วยในการกำจัดเชื้อโรค ผสมสูตรเป็นพลาสม่า ซึ่งบางฟังก์ชั่นอาจไม่เหมาะสมต่อการเปิดนาน เช่น Ozone ที่ฆ่าเชื้อโรคและเซลขนาดเล็กมากได้ แต่จะทำให้เซลร่างกายของเรามีผลไปด้วยเช่นกัน อาจเปิดใช้บางเวลาที่จำเป็น หรือหลีกเลี่ยงแต่ก็มีการใช้เทคโนโลยีต่างๆ เพื่อแข่งขันกันอย่างสร้างสรรค์ เช่น การปล่อยประจุไฟฟ้าเพื่อฆ่าเชื้อโรค การใช้แสงอัลตราไวโอเลทเพื่อฆ่าเชื้อโรค การใช้ความชื้นผสมไฟฟ้าหรือไทเทเนียม และอีกมากมาย ซึ่งจะทำให้แต่ละยี่ห้อนั้นมีเทคโนโลยีท่ีแตกต่างกันแบบที่คู่แข่งไม่สามารถลอกเลียนได้

ระบบการทำงานอัตโนมัติ

เป็นอีกหนึ่งระบบเสริมที่ช่วยให้ชีวิตสะดวกในยุคนี้ หลายเครื่องสามารถเชื่อมต่อ WIFI และสามารถควบคุมผ่านทางแอพมือถือได้ บางเครื่องมีการวัดคุณภาพอากาศว่าตอนนี้มีฝุ่นเยอะแค่ไหน ทำให้สามารถเร่งเครื่องทำงานเองได้ เมื่อไม่มีฝุ่นก็ไม่จำเป็นต้องเปิดแรงให้เปลืองไฟ ซึ่งเป็นฟังก์ชั่นที่ได้ประโยชน์ไม่น้อยนอกจากนี้ยังมีฟังก์ชั่นเสริมอีกเยอะแยะ สำหรับฟังก์ชั่นเสริมต่างๆ ถ้าทำให้เครื่องราคาสูงขึ้นมาก หากคุณมองหาเครื่องฟอกอากาศที่คุ้มราคาแล้ว สามารถเลือกโดยเน้นที่ 2 ปัจจัยอย่าง HEPA และปริมาณการผลิตอากาศ (CADR) ก็สามารถได้เครื่องฟอกอากาศที่เพียงต่อต่อการใช้งานทุกวัน รวมถึงการจัดการกับฝุ่น PM2.5 แล้วขอให้ทุกท่านผ่านพ้นวิกฤติพายุฝุ่น PM2.5 ไปได้อย่างปลอดภัยและได้เครื่องฟอกอากาศที่สามารถกรองให้คุณใช้ชีวิตในบ้านได้อย่างมีความสุขในอนาคต