เป็นที่ๆรู้กันอยู่ว่าเชื้อรามักเติบโตได้ดีในที่ที่มีความชื้น ซึ่งปกติแล้วเชื้อรามีอยู่ทั่วไป ล่องลอยอยู่ตามอากาศ ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาทั้งต่อบุคคล เช่น หากผู้ป่วยสูดอากาศที่ปนเปื้อนเชื้อราเป็นระยะเวลานาน จะทำให้เกิดโรคทางเดินหายใจ หอบ หืด คัดจมูก โรคผิวหนังบางชนิด เช่น หูด หรือ โรคภายในร่างกาย เช่น ตับ เป็นมะเร็งจากสารอัลฟาท็อกซินจากเชื้อราในอาหาร และยังก่อให้เกิดปัญหาในการผลิตจากการเกิดเชื้อราในอาหาร ตลอดจนถึงทำ ให้อาคารเกิดเปลี่ยนสี โดยเฉพาะตามผนังอาคาร หรือ เกิดกลิ่นเหม็นอับในอาคารและก่อให้เกิดโรคต่างๆ ติดตามกันมา การออกแบบระบบปรับอากาศที่ดีก็มีส่วนช่วยลดการก่อตัวของเชื้อราในอาคาร


สาเหตุของเชื้อราในแอร์

เชื้อราสามารถเกิดขึ้นได้ตามอุปกรณ์ต่างๆของระบบปรับอากาศที่เกิดความชื้นขึ้น และ ถูกปล่อยทิ้งไว้โดยไม่จัดการแก้ไขเป็นเวลานานเกินกว่า 48 ชั่วโมง 

  • ภายในผนังภายในของท่อลมส่วนต่อจากขดท่อน้ำ เย็นในระยะประมาณ 10 ฟุต
  • ตามแนวกระจกหน้าต่าง ซึ่งเกิดการควบแน่นที่ผิวกระจกด้านนอกของไอน้ำ เมื่ออุณหภูมิภายในห้องต่ำกว่าภายนอกมาก
  • ตามผนังด้านนอกของท่อลมจ่ายลมเย็นเนื่องจากอุณหภูมิภายในและภายนอกท่อลมต่างกัน
  • ตามแนวท่อน้ำ เย็นที่ฉนวนเกิดแตกหรือฉีกขาด ทำให้เกิดการควบแน่นของไอน้ำที่ผิวท่อ
  • เชื้อราส่วนใหญ่จะเจริญเติบโตได้ในวัสดุเกือบทุกประเภท ทั้งวัสดุที่เป็นอินทรียวัตถุ (ทำจากสิ่งมีชีวิต) เช่น ไม้เศษใบไม้ผ้า อาหาร ผ้าม่านหนังสือ เป็นต้น โดยเฉพาะวัตถุที่มีช่องว่าง หรือ รูพรุน หรือ จากวัสดุอื่น เช่น ปูน พรม พลาสติก ไวนิล เป็นต้น และวัสดุนั้นเปียกชื้น

ภัยร้ายที่แฝงมากับเชื้อราในแอร์

เครื่องปรับอากาศหรือแอร์ที่ใช้เพื่อคลายร้อน ทั้งที่ทำงาน บ้าน โรงแรม หรือห้างสรรพสินค้า เป็นต้น อาจแฝงไปด้วยภัยร้าย เพราะในแอร์มีความชื้น ทำให้ภายในตัวแอร์และท่อแอร์เป็นที่เจริญเติบโตของเชื้อโรค ทั้งแบคทีเรีย ไวรัส หรือเชื้อรา โดยเฉพาะแบคทีเรีย “ลิจิโอเนลลานิวโมฟิวลา” หากหายใจเอาฝอยละอองน้ำที่มีเชื้อนี้ปนเปื้อนเข้าไปจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพ โดยลักษณะอาการมี 2 แบบคือ แบบปอดอักเสบรุนแรง มีไข้สูง ไอ หนาวสั่น เรียกว่าโรคลิเจียนแนร์ และแบบคล้ายไข้หวัดใหญ่ เรียกว่าไข้ปอน ตีแอก หรือปอนเตียก

การล้างทำความสะอาดแอร์ควรทำเป็นประจำ โดยดูตามความเหมาะสมจากสภาพแวดล้อม และการใช้งาน หากเป็นแผ่นกรองอากาศควรล้างด้วยน้ำสบู่หรือน้ำยาฆ่าเชื้อโรคแล้วใช้น้ำฉีดแรงๆ ที่ด้านหลัง ด้านที่ไม่ได้รับฝุ่น ให้ฝุ่นและสิ่งสกปรกหลุดออกอย่างน้อยเดือนละครั้ง และควรล้างแอร์แบบเต็มระบบอย่างน้อยปีละ 1 ครั้งเช่นเดียวกัน แต่หากใช้เป็นประจำทุกวัน ควรล้างทำความสะอาดประมาณ 6 เดือนต่อครั้ง เพราะนอกจากจะช่วยลดเชื้อโรคที่อาจสะสมอยู่ในแอร์แล้ว ยังช่วยประหยัดพลังงานไฟฟ้าได้อีกด้วย